การออกกำลังกายที่มีผลทำให้หัวใจและปอดทำงานมากขึ้น เรียกการออกกำลังนี้ว่าแอโรบิก (aerobic แปลว่า อากาศ) จึงมีการเรียกการออกกำลังกายด้วยการเต้นจนหัวใจและปอดทำงานมากขึ้นว่า การเต้นแอโรบิก-การออกกำลังกายที่ถูกต้อง ประกอบด้วย ๓ ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ การอุ่นร่างกาย
ก่อนที่รถยนต์จะออกวิ่ง ควรมีการอุ่นเครื่องก่อนฉันใด ก่อนออกกำลังกายก็ต้องมีการอุ่นร่างกายก่อนฉันนั้น ถ้าต้องการออกกำลังด้วยการวิ่งเมื่อไปถึงสนามอย่าเพิ่งลงวิ่งทันที จะต้องอุ่นร่างกายให้มีอุณหภูมิสูงขึ้นก่อนช้าๆ เช่น การเคลื่อนไหวร่างกายสะบัดแข้งสะบัดขา แกว่งแขน วิ่งเหยาะๆ อยู่กับที่ช้าๆ ชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อน แล้วจึงออกวิ่ง ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ถ้าไม่มีการอุ่นร่างกายก่อน
ขั้นตอนที่ ๒ ออกกำลังกายอย่างจริงจัง
การออกกำลังด้วยวิธีใดก็ตาม จะได้ผลสมบูรณ์เป็นประโยชน์แก่ร่างกายได้ การออกกำลังนั้นจะต้องเพียงพอทำให้ร่างกายเกิดการเผาไหม้อาหารในร่างกาย โดยใช้ออกซิเจนในอากาศ ซึ่งหายใจเข้าไปเพื่อทำให้เกิดพลังงานจนถึงระดับหนึ่ง การออกกำลังกายที่มีผลทำให้หัวใจและปอดทำงานมากขึ้นเช่นนี้ เรียกว่าแอโรบิก (aerobic แปลว่า อากาศ) ดังนั้น การออกกำลังด้วยการเต้นจนหัวใจและปอดทำงานมากขึ้นจึงเรียกว่าเต้นแอโรบิก (aerobic dance หรือ aerobic exercise)การเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้นนี้ เพียงพอทำให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย และพบว่าจะขึ้นอยู่กับอายุของบุคคลด้วย
คนที่มีอายุมากน้อยต่างกันหัวใจจะมีความสามารถ เต้นได้ในอัตราสูงสุดต่างกัน มีวิธีคิดง่ายๆ ซึ่งเป็นสูตรของ American College of Sport Medicine คือ นำอายุลบออกจาก ๒๒๐ ผลลัพธ์ได้เท่าใดก็เท่ากับความสามารถของหัวใจที่จะเต้นได้สูงสุดของผู้นั้น ๑ นาที และร้อยละ ๖๕-๘๐ ของการที่หัวใจเต้นได้สูงสุดเป็นอัตราที่เหมาะสมเพียงพอให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายได้
ยกตัวอย่าง นาย ก. อายุ ๖๕ ปี
ดังนั้น อัตราสูงสุดของการเต้นของหัวใจของนาย ก.= ๒๒๐ - ๖๕ = ๑๕๕ ต่อนาที
รอยละ ๖๕ ถึง ๘๐ ของ ๑๕๕ = ๖๕ x ๑๕๕ ถึง ๘๐ x ๑๕๕
๑๐๐ ๑๐๐
= ๑๐๐.๗๕ ถึง ๑๒๔ ครั้งต่อนาที
หมายความว่า นาย ก. จะต้องออกกำลังจนหัวใจเต้นอยู่ระหว่าง ๑๐๐.๗๕ ถึง ๑๒๔ ครั้งต่อนาที จึงจะมีผลทำให้การออกกำลังนั้นพอดี ไม่มากไปและไม่น้อยไป จะเกิดประโยชน์แก่ร่างกายการเต้นของหัวใจ ๑ ครั้ง ก็คือชีพจรเต้น ๑ ครั้ง การจับชีพจรนับก็สามารถรู้ได้ว่าหัวใจเต้นกี่ครั้งการออกกำลังขั้นตอนที่ ๒ นี้จะต้องออกจนชีพจรเพิ่มขึ้นร้อยละ ๖๕-๘๐ ของอัตราสูงสุดของการเต้นของหัวใจแต่ละคนเมื่อออกกำลังจนหัวใจเต้นได้จำนวนที่คำนวณแล้ว จะต้องออกกำลังให้หัวใจเต้น เช่นนั้นอยู่เป็นเวลานาน ๑๕-๔๕ นาที (ถ้าเต้นมากก็ใช้เวลาน้อยลง ถ้าเต้นน้อยก็ใช้เวลามากขึ้น) และ ๑ สัปดาห์ต้องออกกำลัง ๓-๕ ครั้ง จึงจะมีผลทำให้เกิดการออกกำลังที่พอเหมาะเป็นประโยชน์แก่ร่างกายอย่างจริงจัง
ขั้นตอนที่ ๓ การผ่อนให้เย็นลง
เมื่อได้ออกกำลังตามกำหนด ที่เหมาะสมตามขั้นตอนที่ ๒ แล้ว ค่อยๆ ผ่อนการออกกำลังทีละน้อย แทนการหยุดออกกำลังโดยทันที ทั้งนี้เพื่อให้เลือดที่คั่งอยู่ตามกล้ามเนื้อได้มีโอกาสกลับคืนสู่หัวใจ เช่น ถ้าออกกำลังโดยการวิ่ง เมื่อวิ่งจนได้กำหนดตามขั้นตอนที่ ๒ แล้ว ก็ค่อยลดความเร็ว ของการวิ่งลงจนเป็นวิ่งช้าเดิน เร็ว เดินช้า ตามลำดับ จึงถึงระยะพักจริงๆ ระยะเวลาของขั้นตอนที่ ๓ นี้ มิได้กำหนดแน่นอน หากแต่ให้สังเกตดูจากร่างกายเอาเอง ก็พอจะสังเกตได้
ออกกำลังกาย
วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553
เมื่อใดไม่ควรออกกำลังกาย ธารดาว ทองแก้ว
การออกกำลังกายจะทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอจะซาบซึ้งในความจริงข้อนี้เป็นอย่างดี บางคนบอกว่าการออกกำลังกายเหมือนยาเสพติดชนิดหนึ่ง เพราะถ้าประพฤติปฏิบัติจนเป็นกิจวัตรหรือเป็นนิสัยแล้ว หากไม่ได้ออกกำลังกายสักวันจะรู้สึกไม่ค่อยสดชื่นเท่าที่ควร ซึ่งเป็นความจริง (เพราะร่างกายไม่ได้หลั่งสารสุข ‘เอนเดอร์ฟินส์’ ออกมา)
อย่างไรก็ตาม แม้การออกกำลังกายจะมีผลดีต่อสุขภาพร่างกายมากมายนานัปการ แต่ก็มีหลายกรณีที่เราควรระมัดระวัง หรืองดออกกำลังชั่วคราว ในภาวะใดภาวะหนึ่งต่อไปนี้คือ
1. เจ็บป่วยไม่สบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นไข้หรือมีอาการอักเสบที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
2. หลังจากฟื้นไข้ใหม่ ๆ ที่ร่างกายอ่อนเพลียอยู่ หากออกกำลังกายในช่วงนี้ จะทำให้ร่างกายยิ่งอ่อนเพลียและหายช้า
3. หลังจากกินอาหารอิ่มใหม่ ๆ เพราจะทำให้เลือดในระบบไหลเวียนถูกแบ่งไปใช้ในการย่อยอาหาร เพราะฉะนั้นเลือดที่จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนที่ออกกำลังกายก็จะลดลง ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนสมรรถภาพ และเป็นตะคริวได้ง่าย
4. ช่วงอากาศร้อนและอบอ้าวมาก เพราะร่างกายจะสูญเสียเหงื่อและน้ำมากกว่าปกติ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หรือเป็นลมหมดสติได้ (สำหรับผู้ที่ร่างกายไม่แข็งแกร่งจริงอย่างนักกีฬา)
อาการที่บ่งบอกว่าควรหยุดออกกำลังกาย
ในบางกรณีที่ร่างกายอาจอ่อนแอลงไปชั่วคราว เช่น ภายหลังอาการท้องเสีย อดนอน การออกกำลังกายที่เคยทำอยู่ตามปกติอาจจะกลายเป็นหนักเกินไปได้ เพราะฉะนั้นถ้าหากมีอาการดังกล่าวต่อไปนี้ แม้เพียงอาการเดียวหรือหลายอาการ ควรจะหยุดออกกำลังกายทันที นั่นคือ
1. รู้สึกเหนื่อยผิดปกติ
2. มีอาการใจเต้นผิดปกติ
3. อาการหายใจขัดหรือหายใจไม่ทั่วถึง
4. อาการเวียนศีรษะ
5. อาการคลื่นไส้
6. อาการหน้ามืด
7. ชีพจรเต้นเร็วกว่า 140 ครั้งต่อนาที (ในผู้สูงอายุ) หรือ 160 ครั้งต่อนาที (สำหรับหนุ่มสาว)
จำไว้ว่าหากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ต้องหยุดออกกำลังกายทันที และนั่งพักหรือนอนพักจนหายเหนื่อย และไม่ควรออกกำลังต่อไปอีกจนกว่าจะได้ไปพบแพทย์ หรือจนกว่าร่างกายจะมีสภาพแข็งแรงตามปกติ
ออกกำลังกายอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด ธารดาว ทองแก้ว
ก่อนที่จะทำสิ่งใดก็แล้วแต่ เราทุกคนควรจะศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ เอาไว้บ้าง เพื่อเป็นข้อมูลในการคิด ตัดสินใจ หรือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
เรื่องการออกลังกายก็เช่นกัน แม้จะดูเป็นเรื่องง่าย ๆ ธรรมดา ๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าอยู่ ๆ เห็นคนอื่นเขาวิ่ง ว่ายน้ำ หรือเต้นแอโรบิก ซึ่งเป็นการออกกำลังกาย ฯลฯ กันสนุกสนาน วันดีคืนดีนึกสนุกขึ้นมาอยากทำบ้าง ก็ลุกขึ้นมาทำตาม ไม่ได้เด็ดขาด โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ค่อนข้างหนัก เพราะต้องทำให้หัวใจเต้นเร็วและแรงมาก และด้วยเวลาที่ต่อเนื่องกันนานพอสมควรดังนั้น ผู้ที่สนใจจะเริ่มออกกำลังกายแบบนี้ จึงต้องมีการเตรียมตัวอย่างมีขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน หรือผู้ที่เคยออกกำลังกายบ้างแต่หยุดไปนานแล้ว ก็จะต้องเริ่มต้นจากศูนย์ใหม่ เริ่มทำด้วยความระมัดระวัง ไม่เช่นนั้นจะมีโอกาสบาดเจ็บได้ง่ายมาก อย่างน้อยก็มีอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก หรือกล้ามเนื้ออักเสบ ฯลฯ ซึ่งจะพบได้บ่อยมาก
การออกกำลังกายเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรดำเนินไปตามหลักการต่อไปนี้คือ
1. ต้องใช้วิธีค่อยทำค่อยไป คือเริ่มต้นด้วยการออกกำลังกายแบบเบาๆ ก่อนสักระยะหนึ่ง แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นการออกกำลังกายที่หนักขึ้น เช่น เดินเร็วๆ ก่อนในระยะแรก เมื่อร่างกายเคยชินหรืออยู่ตัวแล้ว จึงค่อยขยับเป็นการวิ่งเหยาะๆ ฯลฯ
2. ต้องให้ทุกส่วนของร่างกายมีการเคลื่อนไหว ไม่ใช่ออกกำลังกายแต่เพียงเฉพาะส่วน ไม่เช่นนั้นร่างกายก็จะไม่แข็งแรงสมบูรณ์อย่างแท้จริง (อ่านหมอชาวบ้านฉบับ 265 เดือนพฤษภาคม)
3. การออกกำลังกายต้องทำเป็นประจำสม่ำเสมอ จะทำทุกวัน ทุก 2 วัน หรือ 3 วัน ก็แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคน แต่ควรออกกำลังกายให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ แล้วถ้าหากไม่มีความจำเป็นหรือเหตุขัดข้องใดๆ ควรออกกำลังกายในเวลาเดียวกันทุกครั้งก็จะเป็นสิ่งที่ดีมาก ซึ่งอาจจะเป็นเวลาเช้า หรือเวลาเย็นก็ได้
4. ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคข้อต่างๆ หรือมีความผิดปกติของหลอดเลือด ฯลฯ ก่อนออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษาอยู่ว่าจะออกกำลังกายได้ไหม หรือควรจะออกกำลังกายแบบใด
อย่าลืมว่าถ้าเราประเมินสภาพร่างกายของตัวเองผิดพลาด จะทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพมากขึ้น และในความเป็นจริง เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นมากพอสมควรสำหรับผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์
อย่างไรก็ตาม แม้การออกกำลังกายจะมีผลดีต่อสุขภาพร่างกายมากมายนานัปการ แต่ก็มีหลายกรณีที่เราควรระมัดระวัง หรืองดออกกำลังชั่วคราว ในภาวะใดภาวะหนึ่งต่อไปนี้คือ
1. เจ็บป่วยไม่สบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นไข้หรือมีอาการอักเสบที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
2. หลังจากฟื้นไข้ใหม่ ๆ ที่ร่างกายอ่อนเพลียอยู่ หากออกกำลังกายในช่วงนี้ จะทำให้ร่างกายยิ่งอ่อนเพลียและหายช้า
3. หลังจากกินอาหารอิ่มใหม่ ๆ เพราจะทำให้เลือดในระบบไหลเวียนถูกแบ่งไปใช้ในการย่อยอาหาร เพราะฉะนั้นเลือดที่จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนที่ออกกำลังกายก็จะลดลง ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนสมรรถภาพ และเป็นตะคริวได้ง่าย
4. ช่วงอากาศร้อนและอบอ้าวมาก เพราะร่างกายจะสูญเสียเหงื่อและน้ำมากกว่าปกติ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หรือเป็นลมหมดสติได้ (สำหรับผู้ที่ร่างกายไม่แข็งแกร่งจริงอย่างนักกีฬา)
อาการที่บ่งบอกว่าควรหยุดออกกำลังกาย
ในบางกรณีที่ร่างกายอาจอ่อนแอลงไปชั่วคราว เช่น ภายหลังอาการท้องเสีย อดนอน การออกกำลังกายที่เคยทำอยู่ตามปกติอาจจะกลายเป็นหนักเกินไปได้ เพราะฉะนั้นถ้าหากมีอาการดังกล่าวต่อไปนี้ แม้เพียงอาการเดียวหรือหลายอาการ ควรจะหยุดออกกำลังกายทันที นั่นคือ
1. รู้สึกเหนื่อยผิดปกติ
2. มีอาการใจเต้นผิดปกติ
3. อาการหายใจขัดหรือหายใจไม่ทั่วถึง
4. อาการเวียนศีรษะ
5. อาการคลื่นไส้
6. อาการหน้ามืด
7. ชีพจรเต้นเร็วกว่า 140 ครั้งต่อนาที (ในผู้สูงอายุ) หรือ 160 ครั้งต่อนาที (สำหรับหนุ่มสาว)
จำไว้ว่าหากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ต้องหยุดออกกำลังกายทันที และนั่งพักหรือนอนพักจนหายเหนื่อย และไม่ควรออกกำลังต่อไปอีกจนกว่าจะได้ไปพบแพทย์ หรือจนกว่าร่างกายจะมีสภาพแข็งแรงตามปกติ
ออกกำลังกายอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด ธารดาว ทองแก้ว
ก่อนที่จะทำสิ่งใดก็แล้วแต่ เราทุกคนควรจะศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ เอาไว้บ้าง เพื่อเป็นข้อมูลในการคิด ตัดสินใจ หรือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
เรื่องการออกลังกายก็เช่นกัน แม้จะดูเป็นเรื่องง่าย ๆ ธรรมดา ๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าอยู่ ๆ เห็นคนอื่นเขาวิ่ง ว่ายน้ำ หรือเต้นแอโรบิก ซึ่งเป็นการออกกำลังกาย ฯลฯ กันสนุกสนาน วันดีคืนดีนึกสนุกขึ้นมาอยากทำบ้าง ก็ลุกขึ้นมาทำตาม ไม่ได้เด็ดขาด โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ค่อนข้างหนัก เพราะต้องทำให้หัวใจเต้นเร็วและแรงมาก และด้วยเวลาที่ต่อเนื่องกันนานพอสมควรดังนั้น ผู้ที่สนใจจะเริ่มออกกำลังกายแบบนี้ จึงต้องมีการเตรียมตัวอย่างมีขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน หรือผู้ที่เคยออกกำลังกายบ้างแต่หยุดไปนานแล้ว ก็จะต้องเริ่มต้นจากศูนย์ใหม่ เริ่มทำด้วยความระมัดระวัง ไม่เช่นนั้นจะมีโอกาสบาดเจ็บได้ง่ายมาก อย่างน้อยก็มีอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก หรือกล้ามเนื้ออักเสบ ฯลฯ ซึ่งจะพบได้บ่อยมาก
การออกกำลังกายเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรดำเนินไปตามหลักการต่อไปนี้คือ
1. ต้องใช้วิธีค่อยทำค่อยไป คือเริ่มต้นด้วยการออกกำลังกายแบบเบาๆ ก่อนสักระยะหนึ่ง แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นการออกกำลังกายที่หนักขึ้น เช่น เดินเร็วๆ ก่อนในระยะแรก เมื่อร่างกายเคยชินหรืออยู่ตัวแล้ว จึงค่อยขยับเป็นการวิ่งเหยาะๆ ฯลฯ
2. ต้องให้ทุกส่วนของร่างกายมีการเคลื่อนไหว ไม่ใช่ออกกำลังกายแต่เพียงเฉพาะส่วน ไม่เช่นนั้นร่างกายก็จะไม่แข็งแรงสมบูรณ์อย่างแท้จริง (อ่านหมอชาวบ้านฉบับ 265 เดือนพฤษภาคม)
3. การออกกำลังกายต้องทำเป็นประจำสม่ำเสมอ จะทำทุกวัน ทุก 2 วัน หรือ 3 วัน ก็แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคน แต่ควรออกกำลังกายให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ แล้วถ้าหากไม่มีความจำเป็นหรือเหตุขัดข้องใดๆ ควรออกกำลังกายในเวลาเดียวกันทุกครั้งก็จะเป็นสิ่งที่ดีมาก ซึ่งอาจจะเป็นเวลาเช้า หรือเวลาเย็นก็ได้
4. ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคข้อต่างๆ หรือมีความผิดปกติของหลอดเลือด ฯลฯ ก่อนออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษาอยู่ว่าจะออกกำลังกายได้ไหม หรือควรจะออกกำลังกายแบบใด
อย่าลืมว่าถ้าเราประเมินสภาพร่างกายของตัวเองผิดพลาด จะทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพมากขึ้น และในความเป็นจริง เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นมากพอสมควรสำหรับผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์
ออกกำลังกายอย่างไร ให้หัวใจเข้มแข็ง นพ.สุธี ศิริเวศฏารักษ์
การออกกำลังกายโดยทั่วไปล้วนแล้วแต่มีประโยชน์กับร่างกายอยู่แล้ว แต่มีหลายคนสงสัยว่าจะออกกำลังกายอย่างไรที่จะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจสูงสุด คำตอบของคำถามนี้ก็คือ การออกกำลังกายแบบแอโรบิก ซึ่งหลายคนก็คงจะเข้าใจว่าคือการเต้นแอโรบิก ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ การออกกำลังกายแบบแอโรบิก คือการออกกำลังกายของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ ในร่างกายหลายๆ มัดอย่างต่อเนื่องกัน เป็นระยะเวลาหนึ่งซึ่งจะมีผลให้ร่างกายใช้ออกซิเจนไปเผาผลาญอาหารในร่างกาย และทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจและปอดดีขึ้น โดยมีหลักการง่ายๆ ดังนี้
๑. เป็นการออกกำลังของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ ทั่วร่างกาย เช่น เดินเร็วๆ วิ่งเหยาะๆ ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน หรือเต้นแอโรบิ
๒. ระยะเวลาในการออกกำลังกายในแต่ละครั้งไม่ควรน้อยกว่า ๒๐-๓๐ นาที
๓. ควรทำอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ ครั้ง
๔. ที่สำคัญที่สุดคือระหว่างการออกกำลังกายต้องให้หัวใจหรือชีพจร เต้นอยู่ในช่วงชีพจรเป้าหมาย ซึ่งสามารถคำนวณได้จากสูตรชีพจรสูงสุด = ๒๒๐-อายุ (เป็นปี) ชีพจรเป้าหมาย = ร้อยละ ๖๐-๗๐ ของชีพจรสูงสุด
การจับชีพจรก็สามารถทำได้ง่ายๆ คือ การจับบริเวณข้อมือประมาณ ๑๕ วินาที แล้วคูณด้วย ๔ โดยทำเป็นระยะระหว่างการออกกำลังกาย หรือถ้าจะให้ดีที่สุดคือควรมีอุปกรณ์การจับชีพจร ซึ่งมีหลายรูปแบบ ในท้องตลาดก็มีแบบที่เป็นนาฬิกาข้อมือ การออกกำลังกายอย่าหักโหมจนชีพจรเต้นเร็วเกินชีพจรสูงสุดเพราะจะเป็นอันตรายกับหัวใจ
ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบแอโรบิก
๑. ทำให้สมรรถภาพการทำงานของหัวใจและปอดดีขึ้น
๒. ช่วยลดไขมันในร่างกาย สำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนัก การออกกำลังกายแบบนี้สามารถทำให้น้ำหนักลดได้ แต่ต้องทำควบคู่กับการควบคุมอาหาร
๓. ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน โคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์สูง การออกกำลังกายแบบนี้สามารถทำให้ระดับน้ำตาล และไขมันในเลือดลดลงได้ด้วย
๔. ทำให้จิตใจสดชื่นเบิกบาน
ข้อควรระวังในการออกกำลังกาย
๑. ค่อยๆ ออกกำลังกาย จากเบาๆ และเพิ่มความหนักขึ้น และเริ่มจากระยะเวลาสั้นๆ ก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มระยะเวลา ในการออกกำลังกายให้ถึง ๑๐-๓๐ นาที
๒. ต้องมีการอบอุ่นร่างกาย ก่อนออกกำลัง เพื่อให้ร่างกายเตรียมพร้อมก่อน รวมทั้งเมื่อจะเลิกออกกำลังกาย ต้องค่อยๆ ผ่อนให้เบา และช้าลงไม่หยุดทันทีทันใด
๓. ไม่ควรออกกำลังกายหลังจากกินอาหารอิ่มใหม่ๆ ควรออกกำลังกายหลังจากกินอาหารแล้วอย่างน้อย ๒ ชั่วโมง
๔. ควรออกกำลังกายในสภาพอากาศที่เหมาะสมไม่เย็นหรือร้อนเกินไป และควรเป็นที่ ที่มีอากาศถ่ายเทดี
๕. ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อน ถ้าคุณ สามารถปฏิบัติเช่นที่กล่าวมาได้อย่างสม่ำเสมอ รับรองว่าหัวใจของคุณจะแข็งแรงเป็นหนุ่มเป็นสาวเสมอ รู้อย่างนี้แล้วอย่ารอช้าเรามาออกกำลังกายกันเถอะ..
๑. เป็นการออกกำลังของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ ทั่วร่างกาย เช่น เดินเร็วๆ วิ่งเหยาะๆ ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน หรือเต้นแอโรบิ
๒. ระยะเวลาในการออกกำลังกายในแต่ละครั้งไม่ควรน้อยกว่า ๒๐-๓๐ นาที
๓. ควรทำอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ ครั้ง
๔. ที่สำคัญที่สุดคือระหว่างการออกกำลังกายต้องให้หัวใจหรือชีพจร เต้นอยู่ในช่วงชีพจรเป้าหมาย ซึ่งสามารถคำนวณได้จากสูตรชีพจรสูงสุด = ๒๒๐-อายุ (เป็นปี) ชีพจรเป้าหมาย = ร้อยละ ๖๐-๗๐ ของชีพจรสูงสุด
การจับชีพจรก็สามารถทำได้ง่ายๆ คือ การจับบริเวณข้อมือประมาณ ๑๕ วินาที แล้วคูณด้วย ๔ โดยทำเป็นระยะระหว่างการออกกำลังกาย หรือถ้าจะให้ดีที่สุดคือควรมีอุปกรณ์การจับชีพจร ซึ่งมีหลายรูปแบบ ในท้องตลาดก็มีแบบที่เป็นนาฬิกาข้อมือ การออกกำลังกายอย่าหักโหมจนชีพจรเต้นเร็วเกินชีพจรสูงสุดเพราะจะเป็นอันตรายกับหัวใจ
ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบแอโรบิก
๑. ทำให้สมรรถภาพการทำงานของหัวใจและปอดดีขึ้น
๒. ช่วยลดไขมันในร่างกาย สำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนัก การออกกำลังกายแบบนี้สามารถทำให้น้ำหนักลดได้ แต่ต้องทำควบคู่กับการควบคุมอาหาร
๓. ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน โคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์สูง การออกกำลังกายแบบนี้สามารถทำให้ระดับน้ำตาล และไขมันในเลือดลดลงได้ด้วย
๔. ทำให้จิตใจสดชื่นเบิกบาน
ข้อควรระวังในการออกกำลังกาย
๑. ค่อยๆ ออกกำลังกาย จากเบาๆ และเพิ่มความหนักขึ้น และเริ่มจากระยะเวลาสั้นๆ ก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มระยะเวลา ในการออกกำลังกายให้ถึง ๑๐-๓๐ นาที
๒. ต้องมีการอบอุ่นร่างกาย ก่อนออกกำลัง เพื่อให้ร่างกายเตรียมพร้อมก่อน รวมทั้งเมื่อจะเลิกออกกำลังกาย ต้องค่อยๆ ผ่อนให้เบา และช้าลงไม่หยุดทันทีทันใด
๓. ไม่ควรออกกำลังกายหลังจากกินอาหารอิ่มใหม่ๆ ควรออกกำลังกายหลังจากกินอาหารแล้วอย่างน้อย ๒ ชั่วโมง
๔. ควรออกกำลังกายในสภาพอากาศที่เหมาะสมไม่เย็นหรือร้อนเกินไป และควรเป็นที่ ที่มีอากาศถ่ายเทดี
๕. ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อน ถ้าคุณ สามารถปฏิบัติเช่นที่กล่าวมาได้อย่างสม่ำเสมอ รับรองว่าหัวใจของคุณจะแข็งแรงเป็นหนุ่มเป็นสาวเสมอ รู้อย่างนี้แล้วอย่ารอช้าเรามาออกกำลังกายกันเถอะ..
การออกกำลังกาย นพ.บรรลุ ศิริพานิช
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ คือการที่ร่างกายมีการหดยืดกล้ามเนื้อและข้อต่อ มีการเคลื่อนไหวทำให้ เกิดการใช้อาหารและออกซิเจนในร่างกายเพิ่มขึ้นไปจากธรรมดา และมีความอภิรมย์ในชีวิตประจำวันการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นการออกกำลังกายที่เพิ่มขึ้นไปจากธรรมดา เพื่อให้ร่างกายเกิดความสมบูรณ์แข็งแรง และเกิดความอภิรมย์ ที่ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจ
๑. ร่างกายมีส่วนประกอบสมส่วนและกล้ามเนื้อมีความแข็งแรง
๒. สามารถเคลื่อนไหว ทำให้เกิดพลังงานได้
๓. มีความทนทานในการออกกำลังกายได้
๔. มีความว่องไวในการเคลื่อนไหวตามประสงค์
๕. มีความยืดหยุ่น กล่าวคือ สามารถงอเหยียดข้อต่อต่างๆ ของร่างกายได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ติดขัด
๖. มีการทรงตัว ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลตามปรารถนาได้
๗. อวัยวะต่างๆ ของร่างกายทำงานประสานสัมพันธ์ สามารถเคลื่อนไหวไปได้ตามประสงค์การที่ร่างกายจะมีความสมบูรณ์แข็งแรงดังกล่าวได้ จะต้องมีสุขภาพกายและจิตดีเป็นพื้นฐาน มีการออกกำลังกายที่ถูกต้องอยู่เสมอ จะทำให้ร่างกายคงความสมบูรณ์แข็งแรงอยู่ได้ยืนนาน เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ ขอให้คำนึงถึงตัวเองว่า ร่างกายของเรามีความสมบูรณ์ แข็งแรงครบ ๗ ประการหรือไม่
ประโยชน์ของการออกกำลังกาย
ฮิปโปเครติส บิดาแห่งการแพทย์ของโลก แนะนำให้ออกกำลังกายลดความอ้วนด้วยการเดินอย่างเร็ว พระจีนในนิกายเต๋าฝึกกังฟูเพื่อรักษาโรคและอาการปวดเมื่อยต่าง ๆ แสดงว่าเรื่องการออกกำลังกายเป็นที่ยอมรับกันว่ามีประโยชน์มายาวนานแล้ว จนปัจจุบันมีวิวัฒนาการเกี่ยวกับการออกกำลังต่างๆ ไปเป็นกีฬาและมีการแข่งขันระดับโลก ประโยชน์ของการออกกำลังกายจะได้ดังต่อไป
๑. กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น มีพลังดีขึ้น กล้ามเนื้อใดมีการออกกำลังเสมอ กล้ามเนื้อนั้นจะมีการพัฒนาและแข็งแรงยิ่งขึ้น
๒. การทรงตัวดีขึ้นและรูปร่างดีขึ้น ผู้ที่ออกกำลังกายอยู่เสมอจะทำให้ร่างกายมีความกระฉับกระเฉง ว่องไว การทรงตัวดี และร่างกายสมส่วน ซึ่งผิดกับผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย จะมีร่างกายอ้วน ลงพุง หรือผอมเกินไป๓. ชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ได้
๓. ชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ได้ การออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม จะทำให้ อวัยวะต่างๆ ลดการเสื่อมโทรมลง ร่างกายของมนุษย์ถ้ามีการเคลื่อนไหวออกกำลังที่เหมาะสมอยู่เสมอ นอกจากจะแข็งแรงขึ้นแล้ว ยังสามารถซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ด้วย
๔. สุขภาพจิตดีขึ้น การออกกำลังกายด้วยขนาดที่เหมาะสม ร่างกายจะขับสารชนิดหนึ่งเรียกว่าเอนดอร์ฟินออกมา สารนี้จะช่วยลดความเจ็บปวดของร่างกายและทำให้จิตใจสดชื่น
๕. ระบบทางเดินอาหารทำงานดีขึ้น ผู้สูงอายุที่ออกกำลังเสมอ จะไม่มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือท้องผูก
๖. ทำให้นอนหลับดีขึ้น คนที่นอนหลับยากหรือนอนไม่ค่อยหลับ พอได้มีการออกกำลัง จะหลับได้สนิทและสบายขึ้นโดยไม่ต้องใช้ยาเข้าช่วยแต่ประการใด
๗. ระบบหัวใจและปอดแข็งแรงขึ้น ผู้ป่วยที่มีกราฟหัวใจไฟฟ้าผิดปกติบางอย่าง สามารถหายไปได้จากการออกกำลังกาย
๘. รักษาโรคบางชนิดได้ การออกกำลังกายช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง สามารถลดระดับน้ำตาลและ ไขมันลงได้
๙. ทำให้พลังทางเพศดีขึ้น การออกกำลังกายที่เหมาะสมพอดี จะทำให้ระดับฮอร์โมนเพศออกมามากขึ้นทั้งชายและหญิง ทำให้พลังทางเพศดีขึ้น แต่ทั้งนี้จะต้องไม่ออกกำลังเกินขนาดไป ซึ่งจะให้ผลในทางตรงข้ามได้
ออกกำลังกาย-ออกกำลังใจ ศ.นพ.ประเวศ วะสี
แต่ปัญหาใหญ่ของมนุษย์ คือ รู้ว่าอะไรดี แต่ไม่ทำ
อย่างการออกกำลังนี้ รู้ว่าดีสารพัด แต่ก็ไม่ทำ
ฉะนั้น จึงไม่ใช่ออกกำลังกายอย่างเดียว แต่ต้องออกกำลังใจด้วย คือ ทำใจให้เข้มแข็ง สามารถทำอะไรที่ควรทำได้ ใจที่อ่อนแอเฉยแฉะนำไปสู่ความทุกข์หรือทุกขภาพ ใจที่เข้มแข็งทำให้มีสุขภาพอยากมีความสุข ต้องบริหารใจให้เข้มแข็ง
อยากมีความสุข ต้องบริหารใจให้เข้มแข็ง
โปรดให้กำลังใจซึ่งกันและกัน หมั่นถามคำถามว่า "วันนี้ คุณออกกำลังหรือยัง"การที่มีคนคอยถามว่า ออกกำลังหรือยัง จะเพิ่มฉันทะให้อยากออกกำลังมากขึ้น ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา หรืออิทธิบาท 4 ทำให้อายุยืนถึง 1 กัป (120 ปี) ก็ได้ ตรงกับที่นายแพทย์เฉก ธนะสิริ ประกาศไว้พอดี
ออกกำลังกายและเจริญสติ คือยาอายุวัฒนะ
หลักการของหมอชาวบ้านคือช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพดี โดยพึ่งพาหมอน้อยที่สุด และถ้าเกิดเจ็บป่วยไปทำอย่างไรสุขภาพจะกลับคืนมาโดยไม่ต้องเสียเงิน หรือเสียเงินน้อยที่สุด
กำไรของหมอชาวบ้านอยู่ที่ความสุขของประชาชน ไม่ใช่ความร่ำรวยของเรา
ด้วยหลักการดังกล่าว หมอชาวบ้านทำงานมา 30 ปี ต้องเรียกว่าเราไม่มีกำไรเป็นเงินเลย เคยจนอยู่อย่างไรก็จนอยู่อย่างนั้น เพราะเราไม่ได้อยู่ในระบบทุนนิยม แต่เป็นบุญนิยม
การรักษาสุขภาพและทำให้อายุยืน 2 อย่างโดยไม่ต้องเสียเงินเลย เรียกว่าเป็น Good Health at Low Cost หรือ No Cost คือการออกกำลังกายและการเจริญสติ
หมอชาวบ้านส่งเสริมการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ มาตั้งแต่ต้น การออกกำลังกายทำให้อวัยวะต่างๆ แข็งแรง เช่น หัวใจ ปอด กล้ามเนื้อ กระดูก ลดความเครียด สร้างสารสุขคือเอ็นดอร์ฟิน ทำให้เกิดสุขภาวะและการไม่เป็นโรคต่างๆ
การเจริญสติทำให้เกิดความสุขและสุขภาพดี ไม่ค่อยเจ็บป่วยหรือเป็นแล้วก็หายง่าย ทำให้ความสัมพันธ์กับบุคคลต่างๆ ดี ลดความขัดแย้งและความเครียด ควรมีการเจริญสติกันอย่างทั่วถึงโรงพยาบาลทุกโรงควรมี " คลินิกเจริญสติ " แพทย์และพยาบาลที่เจริญสติควรรวมตัวกันให้บริการเจริญสติ
โรงพยาบาลซื้อเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้อยู่แล้ว ส่วนใหญ่ราคาแพง การเจริญสติก็เป็นเทคโนโลยีอย่างหนึ่ง ต่างจากเทคโนโลยีอย่างอื่นที่ราคาถูกแต่ให้ผลมาก ถ้าแพทย์และพยาบาลทุกคนเจริญสติเป็นก็สามารถสอนให้ประชาชนจำนวนมากรู้จักเทคโนโลยีที่เป็น ยาอายุวัฒนะขนานที่ให้ผลดีที่สุดและประหยัดสุดๆ
๑. ร่างกายมีส่วนประกอบสมส่วนและกล้ามเนื้อมีความแข็งแรง
๒. สามารถเคลื่อนไหว ทำให้เกิดพลังงานได้
๓. มีความทนทานในการออกกำลังกายได้
๔. มีความว่องไวในการเคลื่อนไหวตามประสงค์
๕. มีความยืดหยุ่น กล่าวคือ สามารถงอเหยียดข้อต่อต่างๆ ของร่างกายได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ติดขัด
๖. มีการทรงตัว ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลตามปรารถนาได้
๗. อวัยวะต่างๆ ของร่างกายทำงานประสานสัมพันธ์ สามารถเคลื่อนไหวไปได้ตามประสงค์การที่ร่างกายจะมีความสมบูรณ์แข็งแรงดังกล่าวได้ จะต้องมีสุขภาพกายและจิตดีเป็นพื้นฐาน มีการออกกำลังกายที่ถูกต้องอยู่เสมอ จะทำให้ร่างกายคงความสมบูรณ์แข็งแรงอยู่ได้ยืนนาน เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ ขอให้คำนึงถึงตัวเองว่า ร่างกายของเรามีความสมบูรณ์ แข็งแรงครบ ๗ ประการหรือไม่
ประโยชน์ของการออกกำลังกาย
ฮิปโปเครติส บิดาแห่งการแพทย์ของโลก แนะนำให้ออกกำลังกายลดความอ้วนด้วยการเดินอย่างเร็ว พระจีนในนิกายเต๋าฝึกกังฟูเพื่อรักษาโรคและอาการปวดเมื่อยต่าง ๆ แสดงว่าเรื่องการออกกำลังกายเป็นที่ยอมรับกันว่ามีประโยชน์มายาวนานแล้ว จนปัจจุบันมีวิวัฒนาการเกี่ยวกับการออกกำลังต่างๆ ไปเป็นกีฬาและมีการแข่งขันระดับโลก ประโยชน์ของการออกกำลังกายจะได้ดังต่อไป
๑. กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น มีพลังดีขึ้น กล้ามเนื้อใดมีการออกกำลังเสมอ กล้ามเนื้อนั้นจะมีการพัฒนาและแข็งแรงยิ่งขึ้น
๒. การทรงตัวดีขึ้นและรูปร่างดีขึ้น ผู้ที่ออกกำลังกายอยู่เสมอจะทำให้ร่างกายมีความกระฉับกระเฉง ว่องไว การทรงตัวดี และร่างกายสมส่วน ซึ่งผิดกับผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย จะมีร่างกายอ้วน ลงพุง หรือผอมเกินไป๓. ชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ได้
๓. ชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ได้ การออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม จะทำให้ อวัยวะต่างๆ ลดการเสื่อมโทรมลง ร่างกายของมนุษย์ถ้ามีการเคลื่อนไหวออกกำลังที่เหมาะสมอยู่เสมอ นอกจากจะแข็งแรงขึ้นแล้ว ยังสามารถซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ด้วย
๔. สุขภาพจิตดีขึ้น การออกกำลังกายด้วยขนาดที่เหมาะสม ร่างกายจะขับสารชนิดหนึ่งเรียกว่าเอนดอร์ฟินออกมา สารนี้จะช่วยลดความเจ็บปวดของร่างกายและทำให้จิตใจสดชื่น
๕. ระบบทางเดินอาหารทำงานดีขึ้น ผู้สูงอายุที่ออกกำลังเสมอ จะไม่มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือท้องผูก
๖. ทำให้นอนหลับดีขึ้น คนที่นอนหลับยากหรือนอนไม่ค่อยหลับ พอได้มีการออกกำลัง จะหลับได้สนิทและสบายขึ้นโดยไม่ต้องใช้ยาเข้าช่วยแต่ประการใด
๗. ระบบหัวใจและปอดแข็งแรงขึ้น ผู้ป่วยที่มีกราฟหัวใจไฟฟ้าผิดปกติบางอย่าง สามารถหายไปได้จากการออกกำลังกาย
๘. รักษาโรคบางชนิดได้ การออกกำลังกายช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง สามารถลดระดับน้ำตาลและ ไขมันลงได้
๙. ทำให้พลังทางเพศดีขึ้น การออกกำลังกายที่เหมาะสมพอดี จะทำให้ระดับฮอร์โมนเพศออกมามากขึ้นทั้งชายและหญิง ทำให้พลังทางเพศดีขึ้น แต่ทั้งนี้จะต้องไม่ออกกำลังเกินขนาดไป ซึ่งจะให้ผลในทางตรงข้ามได้
ออกกำลังกาย-ออกกำลังใจ ศ.นพ.ประเวศ วะสี
แต่ปัญหาใหญ่ของมนุษย์ คือ รู้ว่าอะไรดี แต่ไม่ทำ
อย่างการออกกำลังนี้ รู้ว่าดีสารพัด แต่ก็ไม่ทำ
ฉะนั้น จึงไม่ใช่ออกกำลังกายอย่างเดียว แต่ต้องออกกำลังใจด้วย คือ ทำใจให้เข้มแข็ง สามารถทำอะไรที่ควรทำได้ ใจที่อ่อนแอเฉยแฉะนำไปสู่ความทุกข์หรือทุกขภาพ ใจที่เข้มแข็งทำให้มีสุขภาพอยากมีความสุข ต้องบริหารใจให้เข้มแข็ง
อยากมีความสุข ต้องบริหารใจให้เข้มแข็ง
โปรดให้กำลังใจซึ่งกันและกัน หมั่นถามคำถามว่า "วันนี้ คุณออกกำลังหรือยัง"การที่มีคนคอยถามว่า ออกกำลังหรือยัง จะเพิ่มฉันทะให้อยากออกกำลังมากขึ้น ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา หรืออิทธิบาท 4 ทำให้อายุยืนถึง 1 กัป (120 ปี) ก็ได้ ตรงกับที่นายแพทย์เฉก ธนะสิริ ประกาศไว้พอดี
ออกกำลังกายและเจริญสติ คือยาอายุวัฒนะ
หลักการของหมอชาวบ้านคือช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพดี โดยพึ่งพาหมอน้อยที่สุด และถ้าเกิดเจ็บป่วยไปทำอย่างไรสุขภาพจะกลับคืนมาโดยไม่ต้องเสียเงิน หรือเสียเงินน้อยที่สุด
กำไรของหมอชาวบ้านอยู่ที่ความสุขของประชาชน ไม่ใช่ความร่ำรวยของเรา
ด้วยหลักการดังกล่าว หมอชาวบ้านทำงานมา 30 ปี ต้องเรียกว่าเราไม่มีกำไรเป็นเงินเลย เคยจนอยู่อย่างไรก็จนอยู่อย่างนั้น เพราะเราไม่ได้อยู่ในระบบทุนนิยม แต่เป็นบุญนิยม
การรักษาสุขภาพและทำให้อายุยืน 2 อย่างโดยไม่ต้องเสียเงินเลย เรียกว่าเป็น Good Health at Low Cost หรือ No Cost คือการออกกำลังกายและการเจริญสติ
หมอชาวบ้านส่งเสริมการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ มาตั้งแต่ต้น การออกกำลังกายทำให้อวัยวะต่างๆ แข็งแรง เช่น หัวใจ ปอด กล้ามเนื้อ กระดูก ลดความเครียด สร้างสารสุขคือเอ็นดอร์ฟิน ทำให้เกิดสุขภาวะและการไม่เป็นโรคต่างๆ
การเจริญสติทำให้เกิดความสุขและสุขภาพดี ไม่ค่อยเจ็บป่วยหรือเป็นแล้วก็หายง่าย ทำให้ความสัมพันธ์กับบุคคลต่างๆ ดี ลดความขัดแย้งและความเครียด ควรมีการเจริญสติกันอย่างทั่วถึงโรงพยาบาลทุกโรงควรมี " คลินิกเจริญสติ " แพทย์และพยาบาลที่เจริญสติควรรวมตัวกันให้บริการเจริญสติ
โรงพยาบาลซื้อเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้อยู่แล้ว ส่วนใหญ่ราคาแพง การเจริญสติก็เป็นเทคโนโลยีอย่างหนึ่ง ต่างจากเทคโนโลยีอย่างอื่นที่ราคาถูกแต่ให้ผลมาก ถ้าแพทย์และพยาบาลทุกคนเจริญสติเป็นก็สามารถสอนให้ประชาชนจำนวนมากรู้จักเทคโนโลยีที่เป็น ยาอายุวัฒนะขนานที่ให้ผลดีที่สุดและประหยัดสุดๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)